Phukraduang

Phukraduang

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

History of the Internet


อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร

-  อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่าย เดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
-  อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามา ในเครือข่าย
-  อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
-  อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)
-  สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย



ประวัติความเป็นมา

         - อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

          - ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง

           และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

        - ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

        - การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น

       - DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

       - ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก




      - ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้ เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูล ได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมาย ให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล 



บริการที่ได้รับจาก Internet


(จากประสบการณ์ที่ได้ใช้บริการ ซึ่งคาดว่าเป็นบางส่วนของที่มีบริการอยู่ในปัจจุบัน)

[ Telnet | Electronic mail | Usenet news | FTP | WWW | Net2Phone | NetMeeting | ICQ | IRC | Game online | Software updating | Palm หรือ PocketPC | Wap ]


Telnet

เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุม การทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง
ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมาก
แต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัย เช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่
สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่ กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้ภาพ mailtel.gif


Electronic mail

บริการ E-Mail ฟรี เป็นบริการที่มีผู้ใช้กันมาก เพราะใช้สำหรับส่ง และอ่านข้อความ กับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย และใช้แทนจดหมายได้อย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และผู้รับจะได้รับในเวลาเกือบทันทีที่ส่งไป ผู้ใหับริการ E-Mail ฟรีในปัจจุบัน เช่นของ hotmail หรือ yahoo mail หรือ ตามแต่ละประเทศ ที่คนในประเทศจะทำ Server ให้บริการ สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น thaimail.com หรือ chaiyo.com ซึ่งเป็นของคนไทย และ mail ฟรีเหล่านี้จะให้บริการไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหมดอายุ แต่จะหมดอายุถ้าผู้ใช้เกิดเลิกใช้เป็นเวลานานเกินไป สำหรับ E-Mail ของสถาบัน จะหมดอายุแน่นอน หลักจากที่สำเร็จการศึกษา จึงเป็นจุดบกพร่องข้อใหญ่ ที่ทำให้นักศึกษา หันไปใช้ E-Mail ฟรี มากกว่าที่สถาบัน จัดไว้ให้
การใช้ E-Mail กับผู้ให้บริการฟรี เช่น thaimail.com, lampang.net, thaiall.com หรือ chaiyo.com นั้น ผู้ใช้จะต้องไป download โปรแกรม browser เช่น netscape หรือ Internet Explorer หรือ Opera หรือ NeoPlanet มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet แล้วเปิดหน้าเว็บของแหล่งบริการ เพื่อใช้บริการ E-Mail ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะต้องขอใช้บริการ และจะได้รับ userid และ password ประจำตัว เพื่อ login เข้าใช้บริการ E-Mail ทุกครั้ง
ปัจจุบันการขอใช้บริการ E-Mail สามารถเลือกได้ที่จะใช้ web-based หรือ POP เพราะแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน โดย web-based จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ส่วน pop จะเหมาะกับผู้มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว


USENET news หรือ News group

ในยุคแรกของ Internet บริการ USENET ได้มีผู้ใช้บริการ อย่างแพร่หลายอย่างมาก เพราะเป็นแหล่ง ที่ผู้ใช้ จะส่งคำถามเข้าไป และผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ จะช่วยตอบ ทำให้เกิดสังคมของ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร นอกจากการส่งข้อความเข้าไปใน USENET แล้ว ผู้ใช้ยังส่งแฟ้มในรูปแบบใด ๆ เข้าไปก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Attach file หากแฟ้มที่ส่งเข้าไปเป็นภาพ gif หรือ jpg หรือแฟ้มที่มีการรองรับ ในระบบ internet ก็จะเปิดได้ทันทีด้วย browser หรือแล้วแต่โปรแกรมที่ใช้เปิด USENET นั้น
แต่สำหรับประเทศไทย ผมสังเกตุว่า มีการเข้าไปใช้บริการในส่วนนี้ไม่มาก เพราะกลุ่มข่าว(News group) ที่ชื่อ soc.culture.thai ซึ่งเป็น 1 ในหลายหมื่นกลุ่มข่าว และมีชื่อที่เป็นไทยอย่างชัดเจน กลับมีคนต่างชาติ เข้าไปฝากข้อความไว้กว่าครึ่ง และมีคนไทยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเข้าใจว่าผู้ใช้ Internet ในประเทศไทยมักเน้นการใช้บริการ Internet 3 อย่างนี้ คือ Browser และ PIRC และ ICQ
อีกเหตุผลหนึ่ง ที่คนไทยไม่ได้เข้าไปใช้บริการ USENET เท่าที่ควรก็เพราะ ในเว็บของคนไทยหลาย ๆ เว็บจะให้บริการที่ชื่อว่า wwwboard ผ่าน browser อยู่แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ USENET อย่างมาก ทำให้คนไทยหันมาใช้ wwwboard แทน USENET ซึ่งต้องติดตั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมให้กับ browser ซึ่งอาจรู้สึกยุ่งยาก ไม่รู้ หรือไม่คุ้นเคยก็เป็นได้ และปัจจุบันบริการต่าง ๆ มักจะรวมมาไว้ใน browser อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้มากมาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องไปใช้โปรแกรมอื่น เพราะทุกวันนี้ก็ใช้บริการ ที่อยู่ใน browser ไม่หมดแล้ว เช่น web, mail, chat, wwwboard, game, quiz, pager, news, postcard, shopping, download เป็นต้น
ถ้าเครื่องท่านถูก setup ให้อ่าน news ได้ ท่านสามารถเข้าไปที่ soc.culture.thai เพื่ออ่าน หรือส่งข่าวสาร ต่าง ๆ ได้


FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)

บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว


WWW

• World Wide Web คือบริการที่ให้ผู้ใช้ ใช้โปรแกรม Browser เช่น Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เป็นต้น ในการเปิดข้อมูลในลักษณะ Homepage ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้มีการแพร่หลาย และเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจ และเติบโตอย่างรวดเร็ว
บริการผ่านเว็บนี้ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อในลักษณะ Interactive ด้วยโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ จนทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การดูภาพยนต์ ผ่านเว็บ, การเล่นเกมส์, การทำข้อสอบ, การส่ง mail, การส่ง pager, การติดต่อซื้อขาย, การส่ง postcard เป็นต้น


Net2Phone

บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริง ๆ และได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสาร
จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริง ๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้ง และจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการจากที่ซื้อไว้


Netmeeting

เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยเสียงจาก คอมพิวเตอร์ ซึ่งคล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่อย่างใด และโปรแกรมในลักษณะนี้ ยังเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ เครื่องรับภาพ digital ดังนั้นคนที่มีโปรแกรมนี้จะคุยกันและ เห็นภาพของแต่ละฝ่าย จึงทำให้การติดต่อมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อแบบนี้คือเรื่อง ของความเร็ว เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรืออาจขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อ internet ไม่เร็วพอ และจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะเพิ่มการรับ-ส่งภาพ แบบ VDO สำหรับเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยความเร็วต่ำ


ICQ

บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ เป็นของตนเอง และมีโปรแกรม ICQ อยู่ในเครื่อง จะสามารถติดต่อกับเพื่อน ที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำการตรวจสอบไว้ ว่า Online อยู่หรือไม่ เปรียบเสมือนการมี pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว
ได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเสริมอีกมากมาย ให้ ICQ สามารถทำงานได้หลายหลายมากขึ้น และยิ่ง แพร่กระจายได้เร็ว ในกลุ่มหนุ่มสาว ที่ต้องการเพิ่ม เพราะจะแสดงสถานะของ เครื่องเพื่อน เมื่อเปิด คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถติดต่อได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องโทรไปถามบ่อย ๆ ว่าเปิดคอมพิวเตอร์หรือยัง เป็นต้น
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็นโปรแกรมที่ download ได้ฟรี


IRC : Internet Relay Chat

บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถคุยกับใครก็ได้ที่ใช้ โปรแกรม PIRC การคุยกันจะใช้ผ่านแป้นพิมพ์เป็นสำคัญ โดยไม่ต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่ง ที่พิมพ์ออกไป อย่างจริงจัง เพราะไม่มีการควบคุมจากศูนย์ที่ชัดเจน ทำให้ทุกคนมีอิสระที่จะคิดจะส่ง ข้อมูลออกไป ได้ทุกชาติ ทุกภาษา
ใน IRC ใด ๆ มักจะมีการแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยมีชื่อห้องบอกว่า ในห้องนั้นจะคุยกันเรื่องอะไร เช่น "วิธีแก้เหงา" หากใครต้องการคุยถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือหลาย ๆ ห้องได้ และแสดงความเห็น อะไรออกไปก็ได้ และยังสามารถเลือกคุยกับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะคุยให้ทุกคน ที่เปิดหัวข้อนี้ รับทราบก็ได้ เมื่อคุยกันถูกคอก็สามารถ ที่จะนัดพบกันตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือจะนัดคุยกันในคอมพิวเตอร์ ในครั้งต่อไป ในห้องที่กำหนดขึ้นก็ได้ จึงทำให้ทุกเพศทุกวัยชื่นชอบ ที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็น Shareware หากผู้ใช้พอใจ สามารถที่จะ ลงทะเบียนเพื่อจ่ายเงิน $20 ได้


Game online

เกมกลยุทธหลาย ๆ เกมที่ โปรแกรมจะจำลองสถานการณ์การรบ ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับ คอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์คิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องของเกมที่ไม่สามารถสร้าง ความมันส์ เหมือนกับการสู้กับคนที่คิด และพูดกับอีกฝ่ายได้ จึงได้มีการสร้างเกม และบริการที่ทำ ให้ผู้ใช ้ ้ต่อสู้กัน โดยให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าไปในเครื่องบริการ แล้วเสียเงินลงทะเบียน จากนั้นจะสามารถขอเข้าไป เล่นเกมกับใครก็ได้ในโลก ที่เสียเงินเช่นกัน และพูดคุยกันผ่านแป้นพิมพ์ เป็นการทำ ความรู้จักกัน ในขณะเล่นเกมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นบริการที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วอีกบริการหนึ่ง ในโลก Internet


Software Updating

มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จาก Internet และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม จะยอมให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงข้อมูลใหม่ เพื่อใช้สำหรับเตรียมต่อสู้กับไวรัส ที่มาใหม่เสมอ ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update จากนั้น โปรแกรมจะทำทุกอย่างใหม่หมด จนกระทั่งการ update สมบูรณ์ หรือแม้แต่ Microsoft Windows ที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถ Update โปรแกรมที่ตนขายไปแล้ว แต่มาพบข้อผิดพลาดทีหลัง หลังจากแก้ไข จะยอมให้ผู้ใช้ Update โปรแกรมได้ฟรี เพราะถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องรับผิดชอบ เป็นต้น


Palm หรือ PocketPC

• Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
• Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เพื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline นะครับ ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ
ภาพทั้งหมดเกี่ยวกับ palm ได้มาจาก http://www.palm.com

       - PocketPC คืออะไร

         คือ ผลจากที่ปี 1998 Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้
กองทัพอุปกรณ์เทคโนโลยี จาก casio.com นำทัพโดย PocketPC ที่จะมาโค่น palm


WAP

• Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อ โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้ เว็บของไทยที่ให้บริการแล้ว เช่น http://wap.wopwap.com, http://wap.siam2you.com, http://wap.a-roi.com, http://wap.mweb.co.th เป็นต้น
โทรศัพท์ที่ออกมาให้บริการแล้ว เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น
เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น

      - WAP ย่อมาจากคำว่า Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้โทรศัพท์มือถือ หน้าจอเล็กๆ ของคุณสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้โดยตรง ทำให้คุณสามารถ ทำอะไรได้หลากหลายเสมือนกับคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Browser เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การค้นหาสืบค้นข้อมูล หรือการใช้บริการต่างๆ ของ WAP Site และที่สำคัญที่สุดคือ คุณสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ทุกที่ทุกเวลาตราบใดที่ยังมีสัญญาณมือถือ หรือสัญญาณ GPRS อยู่นั่นเอง














ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

        
         การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

           เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

การเชื่อมต่อ Internet



เราจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร

1.อุปกรณ์

   1.1) คอมพิวเตอร์

   1.2) โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

          โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย

          โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1

          PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด


โมเด็มชนิดติดตั้งภายในและภายนอก

โมเด็มแบบ PCMCIA

2. วิธีการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต



          เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูกขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษีกลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนักพอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอกจากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับอินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่ 4 วิธี
          การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารอบรมนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก
         การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดยตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็นภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง
          การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection) การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียงจอของเครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแต่ประการใด แต่ในขณะที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่องไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจากบทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอช การติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่องจากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอาข้อมูลชนิดอื่นมาได้
         การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือนกับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียงไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์ หรืออีเมล์เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เราใช้ได้ก็คือ ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์



การทำงานของ SLIP/PPP



         กลไกการทำงานของ SLIP/PPP

        ทั้ง 2 Protocol จำเป็นต้องใช้เมือเราเชื่อมต่อโดยการใช้วิธี DialUP ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยจะต้องใช้เป็นตัวสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งเพราะการที่เราจะเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้นั้นจำเป็น จะต้องมีหมายเลขอ้างอิงประจำตัว IP address ซึ่ง PPP และ SLIP จะเป็นตัวกำหนดให้เอง วิธีการทำงานจะมีดังนี้

        เมื่อผู้ใช้ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอเน็ตจะต้องใช้ โปรแกรมประเภท TCP/IP Protocol Stack โปแกรมนี้จะใช้สำหรับหมุนเบอร์โทรศัพท์ไปยังเบอร์ของผู้ใช้บริการอินเทอเน็ต ISP กำหนดไว้
เมื่อเครื่องserver ของ isp ได้ตอบรับการติดต่อก็จะเชื่อมเครื่อข่ายของหน่วยงานดังกล่าวตามคำสั่งต่างๆ ที่ตั้งเป็นสคริปต์ไว้ล่วงหน้าแล้วในโปรแกรม Dial

         ในการเชื่อมต่อกันจะมีการส่งข้อมูลคำสั่งเชื่อมต่อ และเริ่มเข้าสู่การติดต่อโดยโปรโตคอล SLIP หรือ PPP ตามที่ได้กำหนดไว้ทั้งสองฝั่ง ในขั้นตอนนี้จะมีการส่งข้อมูลเช่น IP address ของผู้ขอใช้บริการ (ซึ่งมีความจริง จะถูกกำหนดขึ้นใหม่ในตอนนี้เอง) และDomain Name Server (DNS) address เป็นต้น

         หลังจากข้อมูลต่างๆ ได้รับส่งกันเสร็จสิ้นแล้วในขั้นตอนนี้จะถือได้ว่าเชื่อมต่อกันเสร็จแล้ว ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลในรูปแบบของ Internet Protocol (IP) Packet กันได้หรือพูดภาษาชาว บ้านว่าสามารถใช้บริการอินเทอเน็ตได้แล้ว

การทำงานของอินเตอร์เน็ต


รู้จักกับ TCP/IP

          โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่งก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน

          ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ


ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number)

         ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมี
หมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย

         ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป

         โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102) ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000 เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย

        Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ)
        Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)
        Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)

        เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ 181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10 และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น


Domain Name System (DNS)
        
         เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล TCP/IP คุยกัน โดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 203.78.105.4 แทนที่ด้วยชื่อ thaigoodview.com ผู้ใช้บริการสามารถ จดจำชื่อ thaigoodview.com ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP 203.78.105.4 เป็น 203.78.104.9 ผู้ดูแลระบบจะจัดการ แก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่อง เดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

         สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name-to-IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่างๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่างๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะ กำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย เช่นชื่อ Domain คือ support.skynet.com จะได้ว่า com จะเป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดตั้งต้น หรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ skynet และระดับล่างสุดคือ support หมายความว่า ชื่อ Domain นี้ แทนที่หน่วยงาน support ของบริษัทชื่อ skynet และเป็นบริษัทเอกชน ดังแสดงโครงสร้างลำดับชั้นของ Domian Name ที่ชื่อ Support.skynet.com

          ในการกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถ อ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจ ดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่งๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อ และจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดใน ตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การ จัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูล ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วย ขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้ ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่งๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่นๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้น เกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน)


การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
        
          ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ ชื่อ_user @ ชื่อ_subdomain. ชื่อ_Subdomain... [...] . ชื่อ_Domain ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใดๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า "แอท" หมายถึง "อยู่ที่เครื่อง..." แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่างๆ ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่มๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่งๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้นๆ เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้นๆ หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง

ใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ต


"ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต"       

          ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลทิศทางของอินเทอร์เน็ตโดยรวมคือ "สมาคมอินเทอร์เน็ต" (Internet Society) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆภายใน สมาคมอีกทีหนึ่ง ในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ หลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและในปัจจุบันเป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตในอนาคต